บริเวณเหนือสถานีโตเกียว ภาพที่ผู้เขียนเห็นเป็นหญิงสาวสองคนจาก Fukujuen Tea House ที่โด่งดังกำลังชงชาอยู่ หนึ่งในนั้นอยู่ในชุดกิโมโน Fukujuen ที่ดูสง่างาม ในขณะที่อีกชุดหนึ่งสวมชุดปกติสีขาวดำ ชาสดใหม่ถูกบรรจงทำขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ ผู้ผลิตรักในผลงานของพวกเขาอย่างเห็นได้ชัดและใส่ใจในรายละเอียดทุกขั้นตอน ทำให้ผู้เขียนอยากจะเดินทางไปยังดินแดนที่เป็นต้นกำเนิดของชาเขียวของประเทศญี่ปุ่น
ประวัติความเป็นมาของชาญี่ปุ่นนั้น เริ่มต้นขึ้นในประเทศจีน ในศตวรรษที่ 9 ชาจีนถูกนำเข้ามาที่ญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก และสมเด็จพระจักรพรรดิซากะได้ทรงส่งเสริมให้มีการปลูกชาและบริโภคในราชสำนัก
ชานี้ปลูกในเชิงเขาของอุจิ (เกียวโต) ปรุงรสจากใบชา ในเวลาต่อมามีการใช้เทคนิคในการสกัดชาแบบผง (ที่เรารู้จักกันในชื่อ มัทฉะ) ด้วยเวลาไม่ถึง 50 ปี การผลิตมัทฉะได้เข้ามาแทนที่อุตสาหกรรมการผลิตจากใบชาในอุจิ ซึ่งถือเป็นต้นกำเนิดของตำนานชาเขียวญี่ปุ่น เป็นการผลิตชาที่ตรงกันข้ามกับอีกหนึ่งต้นตำรับเมืองแห่งชาที่เน้นการใช้ใบชาเป็นหลักจากไร่ชาในชิซุโอกะ
ชาญี่ปุ่นจะแตกต่างจากชาอินเดียอย่างพันธุ์ Camellia Assamica เพราะทั้งชาจีนและชาญี่ปุ่นจะใช้พันธุ์ Camellia Sinensis แต่สิ่งที่ทำให้ชาจีนกับชาญี่ปุ่นต่างกันก็คือ โดยทั่วไปแล้วชาของจีนมักจะนำมาคั่ว ส่วนของญี่ปุ่นนิยมนำไปนึ่ง บด และอบแห้ง ทำให้ได้ชาเขียวที่ไม่ผ่านการหมักและทำให้รสชาติของชาญี่ปุ่นนั้นเข้มข้นได้กลิ่นใบชาแบบเต็ม ๆ
ความน่าสนใจของมัทฉะนั้น มาจากวิธีการสกัดผงที่ได้มาจากชาเขียว นอกจากนี้ชาญี่ปุ่นไม่เพียงแต่อร่อย แต่ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย ชาเขียวมีสารต้านอนุมูลอิสระ รวมถึงแคทีชิน (catechin) ที่ช่วยต่อต้านริ้วรอยและลดคอเลสเตอรอล ช่วยลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโรคหัวใจ ความเครียด และปัญหาโรคหัวใจและหลอดเลือด
ด้านการผ่อนคลาย ชาเขียวมีสาร L-theanine ที่่มีส่วนช่วยลดสภาวะเครียด ในบรรดาชาเขียวญี่ปุ่นทั้งหมด มัทฉะมีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุด เนื่องจากใช้ทั้งใบเพื่อนำมาบดเป็นผงสำหรับการชงดื่ม
ประเทศญี่ปุ่นมีชาเขียวหลายประเภท:
เซนฉะ (Sencha) – เป็นที่นิยมในประเทศญี่ปุ่น ผลิตโดยใช้ใบชาอ่อน
มัทฉะ (Matcha) – ชาผงสีเขียวที่เกี่ยวข้องกับพิธีชงชาและผลิตจากใบชาคุณภาพ
เกียวคุโระ (Gyokuro) – ใบชาคุณภาพดีที่สุด ผลิตจากชาคุณภาพดีที่ปลูกในที่ร่ม รสชาติมีความซับซ้อน มีองค์ประกอบของความหวาน รสจัด และความขม
โฮจิฉะ (Hōjicha) – ชาคั่วที่มีสีน้ำตาลและมีกลิ่นที่น่าทึ่ง มีรสชาติที่เข้มข้นกว่าและมีรสคล้ายคาราเมล
เก็นไมฉะ (Genmaicha) – การผสมผสานที่น่าสนใจระหว่าง Sencha และข้าวกล้องคั่ว มีสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์และคาเฟอีนต่ำ แต่เดิมใช้โดยนักบวชเพื่อช่วยในระหว่างการอดอาหาร มีแป้งเล็กน้อยและมีสีเหลืองอุ่น ๆ
ชินฉะ (Shincha) – นี่ถือเป็นชาที่แพงที่สุด รู้จักกันในชื่อ อิจิบันฉะ (Ichibancha) หรือ ชาอันดับหนึ่ง! มีสารอาหารในระดับที่สูง ซึ่งให้ความหวานแบบเบา ๆ
บางครั้งทางเลือกของชาญี่ปุ่นก็มีมากมาย นี่ถือเป็นการแนะนำแบบคร่าว ๆ หากใครที่ชอบชาดำก็น่าจะถูกใจโฮจิฉะ ส่วนใครที่ชอบดื่มกาแฟต้องลองเก็นไมฉะ หรือ โฮจิฉะแบบเข้มข้นไปเลย
สำหรับชาที่มีรสชาติอ่อน ๆ อย่าง เซ็นฉะ เหมาะที่จะดื่มคู่กับอาหารอย่างแซนวิชหรือซูชิ สำหรับใครที่อยากเข้าถึงจิตวิญญาณแห่งความเป็นญี่ปุ่นต้องลอง เกียวคุโระ หรือ มัทฉะ ที่จะทำให้ได้ลิ้มรสรสชาติระดับพรีเมี่ยม หากอยากได้ความพรีเมี่ยมแบบสุดขีดก็ต้องลองชิม Ichibancha Shincha ที่มีคุณภาพดีที่สุด
ถึงแม้จะมีความหลากหลายของชาญี่ปุ่น แต่ถึงอย่างนั้นชาญี่ปุ่นก็สามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ จากบริเวณพื้นที่ที่ปลูกชาอย่าง เกียวโต และ ชิซุโอกะ ทั้งสองแห่งนี้ได้สร้างสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ในการผลิตชาที่งดงามและน่าอัศจรรย์ และยังมีเรื่องราวของการเดินทางที่สนใจแตกต่างกันออกไปอีกด้วย
ดินแดนแห่งมัทฉะ – มีพิธีชงชาและวัฒนธรรมที่เป็นรูปแบบของชาญี่ปุ่นที่คนส่วนใหญ่จะนึกถึง จากกระบวนการบดละเอียดของใบชาให้กลายเป็นผงมัทฉะที่มีความเข้มข้นของใบชาประมาณ 30 ใบและมีความซับซ้อนรวมถึงความหลากหลายคล้ายกับการลองชิมไวน์ชั้นดี มีประวัติเล่าขานกันมาหลายเรื่องในบริเวณโทกะโนะโอะซึ่งเป็นเทือกเขาที่ล้อมรอบเกียวโตและอุจิในปัจจุบัน
เริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 อุจิเป็นสถานที่แห่งประวัติศาสตร์ของชา และในปัจจุบันเป็นต้นกำเนิดของผู้ผลิตชาอย่างเช่น Horii Shichimeien ที่ยังคงผลิตชาแบบดั้งเดิม สามารถย้อนกลับไปในช่วงเวลาแรก ๆ ของชาที่ก่อตั้งขึ้นในช่วงยุคมารุมาจิ ในตอนแรกการปลูกชาในอุจิมีหลากหลายแบบ แต่หลังจากนั้นก็ได้มุ่งเน้นไปที่การผลิตมัทฉะเป็นหลัก เนื่องจากชามัทฉะมีความสัมพันธ์ที่สามารถผสมผสานไปกับลัทธิเซน (ในเมืองอุจิมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวัดวาอารามชั้นนำหลายแห่ง)
ด้วยดินที่ยอดเยี่ยมและวิธีการผลิตที่ดี (เช่น กระบวนการ “Ōishita Saibai” ซึ่งสกัดผงชาที่ดีที่สุดจากแต่ละใบ) ทำให้อุจิได้สร้างชาที่มีชื่อเสียงระดับโลกที่ผสมผสานรสชาติและประวัติศาสตร์เข้าด้วยกัน
ประวัติศาสตร์ชาของชิซุโอกะนั้นแตกต่างจากอุจิ ในขณะที่มัทฉะใช้ชาที่เติบโตในภูมิภาค แต่เกษตรกรของชิซุโอกะได้คัดสายพันธ์ุชาอื่น ๆ ที่หลากหลาย เนื่องจากได้รับอิทธิพลของพุทธศาสนาน้อยกว่า ชิซุโอกะเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีการผลิตชาเขียวที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 40% ของไร่ชาทั้งหมดสามารถพบได้ที่นี่ โดย Makinohara และ Shimizu เป็นผู้ครองอุตสาหกรรมของที่นี่
ประวัติชาเขียวของชิซุโอกะ มีอายุ 1,241 ปี เมื่อพระสงฆ์นามว่า Shoichi Kokushi ปลูกเมล็ดชาเขียวหลังจากเดินทางไปประเทศจีน ซึ่งมีเพียงในช่วงสมัยเอโดะที่อุตสาหกรรมขยายตัวอย่างจริงจัง เนื่องจากอยู่ใกล้กับโตเกียวและเป็นการยืนยันความมั่นใจของโทกุงะวะว่าเกียวโตไม่ได้ครองตลาดชาแต่เพียงผู้เดียว
ในส่วนของ Makinohara ภายในตัวเมืองมีศักยภาพการส่งออกของชาที่ได้รับการพัฒนาอย่างมีนัยยะสำคัญในช่วงยุคเมจิ หนึ่งในนวัตกรรมหลักของชิซุโอกะ คือ ความหลากหลายของสายพันธุ์ที่เรียกว่า เซนฉะยะบุกิ (Sencha Yabukita) ซึ่งมีชื่อเสียงในด้านความแข็งแกร่ง กลิ่นหอม และรสหวาน คิดเป็นสัดส่วน 94% ของชาที่ใช้ในเซ็นฉะและสามารถสร้างผลผลิตได้มากในสภาพอากาศที่หลากหลายจึงเป็นที่นิยมในต่างประเทศ
มีการชงชาสองแบบที่ทำให้ผู้เขียนสนใจ ความหลากหลายนี้ไม่เพียงแต่สะท้อนในประวัติศาสตร์เท่านั้น แต่ยังอยู่ในการเตรียมการ
เริ่มต้นที่ มัทฉะอุจิ ซึ่งในกิจกรรมที่ผู้เขียนได้ไปเข้าร่วมนั้น มีหญิงสาวจากโรงน้ำชา Fukujuen ที่น่ารักเข้าร่วมการชงชาและแต่งตัวตามประเพณีของอุจิ เครื่องมือทั้งหมดสำหรับ otemae ได้รับการจัดวางอย่างระมัดระวัง การออกแบบที่เรียบง่ายและความกลมกลืนของพวกเขาเน้นย้ำถึงจริยธรรมของเครื่องดื่มทางจิตวิญญาณโบราณนี้
กล่องนัตสึเมะ (กล่องชา) ชาผงจำนวนหนึ่งถูกใส่ในชาม และรอให้น้ำร้อนในกาต้มน้ำแบบดั้งเดิมเดือดขึ้นเป็นฟอง จากนั้นน้ำจะถูกเทลงในชามโดยใช้ hishaku (ทัพพี) เกิดเสียงที่ทำให้นึกถึงความทรงจำของเสียงใบไม้ในฤดูใบไม้ร่วง
ด้วยการเคลื่อนไหวอันรวดเร็วในการชงชง ด้วยแรงของหญิงสาวสามารถสร้างฟองสีเขียวที่อ่อนนุ่มและชาที่นุ่มนวล สมาธิของเธอดีมาก หลังจากที่ทำชาแล้ว เครื่องมือจะถูกจัดเรียงใหม่อย่างระมัดระวัง และเครื่องดื่มที่เสิร์ฟพร้อมกับวากาชิ (ของหวานญี่ปุ่น) ที่ได้รับการคัดเลือกเพื่อเติมเต็มรสชาติมัทฉะนั้นประณีตมาก ไม่ว่าจะเป็น chasen (แปรงชงชา) และ chashaku (ช้อนตักชา) ได้มอบประสบการณ์แบบญี่ปุ่นอย่างแท้จริงและเป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์แบบของความแข็งแกร่งกับความเป็นหนึ่งเดียวกันของอุจิ
เมื่อผู้เขียนดื่มชาเสร็จแล้ว ก็มีเครื่องมือชุดใหม่ออกมาจากใต้ตู้ ซึ่งไม่สามารถแยกความแตกต่างได้ เนื่องจากประเพณีญี่ปุ่นจะถูกแทนที่ด้วยสัญลักษณ์สมัยใหม่ของ Fukujuen เป็นรูปแบบที่สะอาดและสดใหม่ของหม้อชาเซรามิกสีขาวภาชนะบรรจุที่สวยงามและถ้วยถูกจัดเรียงอย่างประณีต เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงอารมณ์ที่ทันสมัย
และจากนั้นก็มีสุภาพสตรีคนใหม่เข้ามาทักทายผู้เขียน แต่งกายด้วยชุดตะวันตกแบบคลาสสิก และเริ่มการเตรียมตัวด้วยความมุ่งมั่นแบบเดียวกันกับคนก่อนหน้า แต่คราวนี้สไตล์และวิธีการชงชาของเธอเป็นแบบที่ผู้เขียนคุ้นเคยมากขึ้น
เธอพยายามอธิบายความแตกต่างของถ้วยชาอย่างระมัดระวัง ภาษาอังกฤษของเธอแค่พอใช้ แต่ผู้เขียนไม่ได้ภาษาญี่ปุ่นเลย แต่เราก็สามารถเข้าใจกันและกันได้ พวกเรายังเล่าเรื่องตลกเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ ถือเป็นสัญญาณที่แท้จริงของการ“ ดื่มชา” ที่ประสบความสำเร็จ
เกียวคุโระ, โฮจิฉะ และเซ็นฉะถูกชงขึ้นเพื่อความเพลิดเพลินของผู้เขียนอย่างแท้จริง ตั้งแต่น้ำจากกาต้มน้ำอุ่นเดือด ก็เป็นการเริ่มต้นการชงชาที่พิถีพิถันที่ทำให้รู้สึกอบอุ่นมาก ๆ จากนั้น น้ำจะถูกเทเข้าสู่ kyūsu สีขาว (กาน้ำชา) ใบที่เพิ่มเข้ามา และเครื่องดื่มจะถูกเทลงในถ้วยที่อุ่นไว้อย่างระมัดระวัง ชาเขียวแต่ละแบบให้ความสำคัญกับความประณีตของชาญี่ปุ่น ประสบการณ์ทั้งหมดนั้นยอดเยี่ยมมากทำให้ผู้เขียนได้เห็นความหลากหลายสไตล์ของชาญี่ปุ่น
สำหรับผู้ที่สนใจ ขอแนะนำให้ลองสำรวจโลกของชาญี่ปุ่น และข่าวที่ดีที่สุด คือ คุณไม่จำเป็นต้องไปที่อุจิหรือชิซุโอกะ เพียงแค่ไปที่ซูเปอร์มาร์เก็ตใกล้ตัวคุณที่ซึ่งมีชาหลากหลายสายพันธุ์วางจำหน่ายอยู่ให้เลือกได้ตามใจชอบ
Fukujuen มีประวัติอันยาวนาน ก่อตั้งขึ้นในปี 1790 ในฐานะผู้ค้าชาในอุจิของเกียวโตที่มีชื่อเสียงเรื่องชามายาวนาน ปัจจุบันมีร้านสาขาใหญ่เป็นอาคาร 3 ชั้นที่สวยงามในเกียวโต รวมถึงร้านค้าเล็ก ๆ หลายแห่ง นอกจากนี้ยังมีโรงงาน ห้องปฏิบัติการที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในเกียวโต
สำหรับในโตเกียวนั้น ได้ร่วมมือกับร้านอาหารฝรั่งเศส โดยมีร้านที่ผสมผสานระหว่างความเป็นตะวันออกและตะวันตกที่สวยงาม มีเมนูอาหารและชาที่ยอดเยี่ยมพร้อมปรัชญาของ Fukujuen ที่เน้นประเพณี ความเฉลียวฉลาด และการพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ เพื่อให้ตรงกับความต้องการในอนาคต ทำให้ Fukujuen Tokyo เป็นสถานที่ที่ต้องไปเยือนให้ได้สำหรับคนรักชาญี่ปุ่น
เว็บไซต์ Fukujuen Tokyo *เฉพาะภาษาอังกฤษ