สำหรับใครที่สนใจทำงานที่ประเทศญี่ปุ่น ต้องรู้จักกับ เรซูเม่แบบมาตรฐานญี่ปุ่น หรือ rirekisho (履歴書) ซึ่งอาจจะสร้างความสับสนมึนงงให้กับชาวต่างชาติเป็นอย่างมาก เพราะมีวิธีเขียนที่ต่างจากเรซูเม่ทั่วไปที่คุ้นเคย แต่ถ้าใครอยากจะลองหางานในประเทศญี่ปุ่น และถ้านี่คือครั้งแรกของคุณในการหางาน ลองมาเรียนวิธีการเขียนแบบละเอียดที่เราจะช่วยให้ทุกคนบรรลุความฝันในขั้นแรกของการหางาน?
ความสามารถในภาษาญี่ปุ่นของคุณอาจจะยังไม่ดีพอในช่วงแรก ๆ ประสบการณ์การทำงานอาจไม่มากนัก แต่ในส่วนของ rirekisho ที่มีรูปแบบที่เหมาะสมและข้อมูลที่ครบถ้วนจะช่วยให้คุณมีโอกาสได้รับการเข้าสัมภาษณ์โดยตรงกับบริษัทที่ต้องการทำงาน ไม่ว่าคุณจะผ่านการสัมภาษณ์หรือไม่ก็ตาม คุณจะได้สะสมประสบการณ์มากมายไปใช้ในการแข่งขันและสร้างความโดดเด่นให้เข้าตาผู้รับสมัคร ดังนั้น rirekisho ถือเป็นด่านแรกสุดที่ผู้สมัครต้องเตรียมเป็นอย่างดี หากต้องการเริ่มหางานในญี่ปุ่น
บทความนี้ เป็นคู่มือที่สมบูรณ์แบบสำหรับการเขียนเรซูเม่ญี่ปุ่น! หากอ่านบทความเสร็จแล้วและยังรู้สึกไม่มั่นใจพอที่จะเขียน rirekisho ยังมีตัวช่วยเป็นแอปพลิเคชั่นมือถือสำหรับช่วยในการเขียนเรซูเม่ญี่ปุ่น (ซึ่งเราจะแนะนำในบทความต่อไป)
View this post on Instagram
เรซูเม่ญี่ปุ่นมีทั้งหมด 8 ส่วน:
1. ประวัติส่วนตัว「基本情報欄」
2. การศึกษาและประวัติการทำงาน「学歴・職歴欄」
3. ใบอนุญาต หรือ ใบจบการศึกษา ประกาศนียบัตร「免許・資格欄」
4. สิ่งที่น่าสนใจแและความสามารถพิเศษ 「趣味・特技」
5. เหตุผลในการสมัครงาน「志望動機」
6. แรงจูงใจ「本人希望欄」
7. รางวัล「賞罰欄」
8. ระยะเวลาเดินทางมาทำงาน「通勤時間欄」
9. คู่สมรส「扶養家族欄」
10. รูปถ่ายสมัครงาน「証明写真」
View this post on Instagram
วันที่เขียนใบสมัคร
– กรอกวันที่สมัครหรือเขียนวันย้อนหลัง (เผื่อสำหรับเวลาส่งไปรษณีย์)
– กรอกวันที่ไปสัมภาษณ์ ในกรณีที่นำเรซูเม่ติดตัวมาด้วยในวันสัมภาษณ์
– เขียนวันเดือนปี โดยใช้ปีแบบญี่ปุ่น (ปัจจุบันคือ 令和 เรวะ)
ชื่อ นามสกุล
– เขียนชื่อนามสกุลเรียงตามแบบหนังสือเดินทางหรือในบัตรไซริวของคุณ ควรเขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่
– ขึ้นอยู่กับตัวอย่างของเรซูเม่ที่คุณใช้ ให้เขียนชื่อดังนี้:
+ 「ふりがな」= เขียนเป็นตัวอ่านฮิรางานะ
+ 「フリガナ」= เขียนเป็นตัวอ่านคาตาคานะ
วันเกิด
เขียนวันเดือนปีเกิดเป็นปีแบบญี่ปุ่น คำนวณอายุตามวันที่สมัครในเรซูเม่ เช่น ปีเฮเซ, โชวะ
View this post on Instagram
ที่อยู่ปัจจุบัน
– กรอกที่อยู่ตามบัตรประจำตัวผู้พำนักของญี่ปุ่น จังหวัด และรหัสไปรษณีย์
– กรอกชื่ออะพาร์ตเมนต์ เบอร์ห้อง
– กรอกรายละเอียดในส่วนของ Furigana
– กรอกข้อมูลในส่วน “การติดต่อ” (連絡先: renrakusaki) หากที่อยู่ปัจจุบันแตกต่างจากที่อยู่ในบัตรประจำตัวคนต่างชาติ (ไซริวการ์ด 在留カード)
เบอร์โทรศัพท์และอีเมล์
– เขียนหมายเลขโทรศัพท์มือถือของคุณเพื่อให้ง่ายต่อการติดต่อ
– ห้ามใช้หมายเลขโทรศัพท์หรืออีเมล์ของบริษัท หรือของบุคคลอื่น
– ใช้ชื่ออีเมล์ที่ดูเป็นทางการ ขอแนะนำให้ใช้ชื่อจริงหรือนามสกุลในการตั้งอีเมล์จะดีที่สุด
ส่วนสำคัญอันดับแรกก็คือ วันที่ทั้งหมดจะต้องเขียนเป็นปีญี่ปุ่น เช่น (เฮเซ, เรวะ ฯลฯ ) นอกจากนี้ พยายามแปลชื่อสถาบันการศึกษา คณะ เอกวิชาของคุณให้ชัดเจนที่สุด หากชื่อโรงเรียนของคุณเป็นชื่อสถานที่ไม่จำเป็นต้องแปล และไม่จำเป็นต้องแปลชื่อบริษัทเป็นภาษาญี่ปุ่นเช่นกัน แต่ถ้าที่ทำงานมีชื่อในภาษาญี่ปุ่น (เช่น สาขาต่างประเทศของบริษัทญี่ปุ่นหรือบริษัทที่มีลูกค้าญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก ฯลฯ ) ก็ควรเขียนชื่อนั้นลงไปด้วย ถ้าไม่มีก็ใช้ภาษาอังกฤษได้
รวมถึง คำว่า「入学」 (เข้าศึกษา), 「卒業」 (สำเร็จการศึกษา), 「入社」 (เริ่มทำงาน), 「退職 (เลิก) ควรจัดตำแหน่งให้ตรงจากอันล่าสุดไปจนถึงอันสุดท้าย
การศึกษา
– กรอกข้อมูลจากการศึกษาตั้งแต่ระดับโรงเรียนมัธยมหรือโรงเรียนอาชีวศึกษา
– ชื่อโรงเรียนต้องเขียนชื่อเต็ม เช่น โรงเรียนมัธยมจะต้องเขียนว่า「高等学校」 (koto gakko) ไม่ย่อว่า 高校 (koko)
– เขียนรายละเอียดเกี่ยวกับคณะ ภาควิชา และสิ่งที่คุณเรียนรู้จากสถาบัน เพื่อให้นายจ้างเห็นคุณสมบัติที่เหมาะสม
ตัวอย่างเช่น:
– Rogers New Technology High School (Rogers 新技術高等学校)
– มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล (Thammasat 大学・機械工学科)
ประวัติการทำงาน
สำหรับผู้ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษาและไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน สามารถเว้นส่วนนี้ไว้หรือกรอกประวัติการฝึกงาน
หากใครมีประสบการณ์การทำงานลองดูตามขั้นตอนนี้
– เขียนชื่อบริษัท รวมทั้งเขียนรายละเอียดเกี่ยวกับธุรกิจหรืออุตสาหกรรม จำนวนพนักงานเพื่อเป็นการบอกถึงขนาดของบริษัท
– เน้นข้อมูลเกี่ยวกับงานที่มีความเกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่สมัคร
– ถ้าบริษัทเปลี่ยนชื่อเนื่องจากการควบกิจการหรือการซื้อกิจการ ให้ใส่ชื่อใหม่และระบุช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนชื่อ
หากคุณได้แจ้งบริษัทปัจจุบันเกี่ยวกับวันลาออกแล้ว ให้กรอกวันที่เอาไว้ด้วย
– แต่ถ้ายังทำงานอยู่ให้เขียนว่า「現在に至 る」 (“ยังทำงานอยู่”) และเขียน 「以上」 (“จบเพียงเท่านี้”) ที่ส่วนท้ายของมุมขวา
– ถ้าในส่วนของ “ประสบการณ์ทำงาน” มีพื้นที่ให้เขียนไม่พอ สามารถเขียนเพิ่มแยกได้ตรง “ตารางสำหรับประสบการณ์ทำงาน” (หรือ「職務経歴書」, shokumu keirekisho) และเขียนลงไปในใบเรซูเม่ว่า 「詳細は職務経歴書記入」(รายละเอียดเพิ่มเติมเขียนไว้ที่ตารางประสบการณ์การทำงาน)
View this post on Instagram
– เขียนชื่อใบอนุญาตหรือประกาศนียบัตร รวมถึงรายละเอียดต่าง ๆ ยกตัวอย่าง ผลสอบวัดระดับทางภาษาญี่ปุ่น JLPT ระดับ N2
– ถ้ามีประกาศนียบัตรที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานที่สมัครก็ควรใส่เพิ่มลงไปด้วย เพื่อเป็นการเพิ่มความน่าสนใจให้กับผู้รับสมัคร
– ถ้าหากมีใบรับรองหลักสูตรต่าง ๆ ควรกรอกหลักสูตรหรือการสอบที่คุณเข้าร่วมในชั้นเรียนหรือเรียนด้วยตนเอง
ตัวอย่าง:
◯◯ 試験を受けるため、現在勉強中 (ปัจจุบันลงเรียนคอร์สสำหรับการสอบ ◯◯ )
◯◯の取得にむけてセミナーを受講中 (ปัจจุบันเข้าร่วมสัมมนาเพื่อรับประกาศนียบัตร ◯◯)
◯月の△△試験合格に向けて勉強中 (ปัจจุบันเข้าเรียนเพื่อสอบ △△ ในเดือน ◯)
– วิธีการแยก 「取得」 (shyutoku), 「合格」 (gokaku) และ 「認定」 (nintei)
+ 「取得」: ใช้กับใบประกอบวิชาชีพ เช่น แพทย์, พยาบาล, ผู้ตรวจสอบภาษี, การสอบภาษาจีน เป็นต้น
+ 「合格」: ใช้กับใบรับรองการสอบ เช่น TOEIC, การสอบภาษาญี่ปุ่น JLPT, การสอบภาษาจีน เป็นต้น
+ 「認定」: ใช้กับการรับรองความสามารถต่าง ๆ ประกาศนียบัตรจากการลงเรียนคอร์ส วิชาความรู้ทักษะ เช่น บาร์เทนเดอร์, Microsoft system engineer เป็นต้น
View this post on Instagram
– อย่าทิ้งส่วนนี้ให้ว่าง เพราะจะเป็นประโยชน์ในช่วงการสัมภาษณ์งาน
– เขียนความถนัดต่าง ๆ และความรู้เพิ่มเติม
– เขียนงานดิเรกและความสามารถพิเศษที่คิดว่าเป็นประโยชน์ต่องานอีเว้นต์ของบริษัท หรือความสนใจที่จะโชว์ให้เห็นถึงความเป็นตัวคุณ
– นี่คือข้อแนะนำในการเขียนเหตุผลการสมัครงานที่ควรต้องคำนึงถึงเสนอ:
[1] มีความรู้เกี่ยวกับตำแหน่งที่สมัคร เพื่อเป็นการแสดงให้ทางบริษัทเห็นว่าคุณเหมาะสมกับตำแหน่งนี้
[2] เขียนเกี่ยวกับประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่สมัคร
[3] มีความรู้เกี่ยวกับจุดแข็งของบริษัทที่สมัคร และจุดแข็งนี้จะมาช่วยคุณในการเติบโตทางหน้าที่การงานได้อย่างไร
[4] จุดแข็งที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ในอนาคตและทิศทางในการพัฒนาอาชีพของคุณ
View this post on Instagram
– จะให้ที่ดีที่สุด คือ การเขียนประโยค「貴社規定でお願いいたします」(ตามข้อบังคับของบริษัท) เพราะคุณต้องการงานจากบริษัท ดังนั้น เมื่อคุณผ่านการสัมภาษณ์และระยะเวลาทดลองงาน คุณสามารถเจรจาเรื่องเงินเดือนและผลประโยชน์อื่น ๆ
– ในกรณีที่บริษัทมีการรับสมัครหลายตำแหน่ง ควรระบุตำแหน่งที่คุณต้องการสมัคร
– หากเวลาทำงานเป็นช่วงเวลาที่ฟิคเอาไว้ เช่น งานบริการลูกค้า คุณควรเพิ่มว่าคุณยินดีที่จะปรับตารางเวลาที่บริษัทต้องการ เพื่อแสดงเจตจำนงในการทำงานกับบริษัท
– กรอกรางวัลที่ได้รับทั้งจากในประเทศญี่ปุ่น ในประเทศไทย หรือรางวัลระดับนานาชาติ ใบประกาศเกียรติคุณต่าง ๆ
– หากคุณไม่มีให้เขียนว่า「賞罰なし」
– โดยปกติจะอยู่ที่ 90 นาที
– หากคุณต้องเดินทางมากกว่า 90 นาที บริษัทจะขอให้คุณย้ายที่อยู่ และคุณควรเขียนว่า 「内定後速やかに転居可能」 (แปลว่า สามารถย้ายที่อยู่ได้หลังจากได้รับ naitei)
View this post on Instagram
– ข้อมูลนี้สำคัญมากเพราะจะเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวของคุณ รวมถึงภาษีและประกันคู่สมรส
– 「配偶者」คือ “ภรรยา” หรือ “สามี” ถ้าคุณแต่งงานแล้วให้เลือก「有」
– 「配偶者の扶養義務」แปลได้ว่า “ภาระหน้าที่ในการสนับสนุนคู่สมรส” ดังนั้น หากคู่สมรสของคุณมีรายได้ต่อปีน้อยกว่า 1.3 ล้านเยน คุณจะต้องสนับสนุนด้านการเงินให้ ดังนั้น ให้เลือก 「有」 แต่ถ้าไม่ต้องการสนับสนุนด้านการเงินให้เลือก「無」
– 「扶養家族数」หมายถึง บุตรที่มีรายได้ต่ำกว่า 1.3 ล้านเยนต่อปี
คุณสามารถใช้รูปถ่ายจากคอมพิวเตอร์หรือพิมพ์แบบง่าย ๆ นอกจากนี้ ยังมีแอปพลิเคชั่นมือถือที่ใช้สำหรับสร้างเรซูเม่แบบญี่ปุ่น (Rirekisho) อีกด้วย เพียงแต่ต้องทำตามระเบียบของรูปถ่ายสมัครงานที่ถูกต้อง ดังนี้:
+ ขนาดของภาพถ่าย 40mm x 30 mm
+ เป็นภาพที่ถ่ายไว้ไม่เกิน 3 months
+ พื้นหลังควรเป็นสีฟ้า เทา หรือ ขาว
หวังว่าข้อมูลด้านบนจะช่วยให้ทุกคนประสบความสำเร็จในการหางานที่ประเทศญี่ปุ่นนะคะ