ภาพยนตร์ดัดแปลงของญี่ปุ่นนั้นเป็นที่รู้จักอย่างดี โดยหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นหรือมังงะนั้น สามารถนำมาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์การ์ตูนอนิเมะ ละคร หรือแม้กระทั่งภาพยนตร์ และนี่คือรายชื่อภาพยนตร์ไลฟ์-แอคชั่นที่ดัดแปลงมาจากหนังสือการ์ตูนมังงะที่ควรค่าแก่การรับชม ทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี หากคุณกำลังมองหาภาพยนตร์ไลฟ์-แอคชั่นดี ๆ สักเรื่องอยู่
ภาพยนตร์เรื่องนี้ดัดแปลงมาจากมังงะในชื่อเดียวกัน Detroit Metal City (2005) โดย คิมิโนริ วากาสุกิ (Kiminori Wakasugi)
ภาพยนตร์เกี่ยวกับ โซอิจิ เนกิชิ (Soichi Negishi) หนุ่มนักดนตรีขี้อายที่มีความฝันจะเป็นนักร้องเพลงป๊อปที่แสนโด่งดัง แต่กลับมาลงเอยด้วยการเป็นนักร้องนำและนักกีต้าร์ของวงเมทัลร็อคชื่อ “ดีทรอยต์ เมทัล ซิตี้” (Detroit Metal City) ซึ่งบนเวทีนั้น เขาใช่ชื่อว่า โยฮันเนส เคราเซอร์ ที่ 2 (Johannes Krauser II) ที่เป็นจอมปีศาจผู้มาจากนรก แม้ว่าเขาจะเกลียดบทบาทนี้สักเพียงใด แต่ชายหนุ่มกลับมีพรสวรรค์ในเรื่องนี้อย่างเห็นได้ชัด ภาพยนตร์เรื่องนี้มีเนื้อหาเน้นไปที่การติดตามเรื่องราวของเนกิชิ ในความพยายามที่จะปรับด้านที่แตกต่างกันทั้งสองขั้วของเขาเข้าด้วยกัน และค้นหาความหมายที่แท้จริงในการบรรลุความฝันของเขา
ทั้งสองบทบาท เนกิชิ และ เคราเซอร์นั้น นำแสดงโดย เคนอิจิ มัตสึยามะ (Kenichi Matsuyama) ซึ่งเขาทำให้การแสดงในภาพยนตร์เรื่องนี้เหนือกว่าคำว่ายอดเยี่ยม! ดีทรอยต์ เมทัล ซิตี้ (Detroit Metal City) นั้นมีทั้งความตลกเบาสมองและเนื้อหาที่ลึกซึ้งกินใจในเวลาเดียวกัน เต็มไปด้วยเพลงร็อคเสียงดัง แต่ก็มีเนื้อหาที่เปี่ยมเสน่ห์ เป็นภาพยนต์ที่ยอดเยี่ยมที่คุณจะสนุกไปกับมันได้อย่างแน่นอน!
ภาพยนตร์ไตรภาคนี้ สร้างมาจากการ์ตูนมังงะที่ประสบความสำเร็จและได้รางวัลของ นาโอกิ อุราซาวะ (Naoki Urasawa)
เนื้อเรื่องเกิดขึ้นในปี 1969 โดยนักเรียนชั้นประถมชื่อว่า เคนจิ (Kenji) และกลุ่มเพื่อนของเขา ได้ตั้งฐานทัพลับในระหว่างช่วงปิดเทอมฤดูร้อน พวกเด็ก ๆ ได้จินตนาการว่า พวกเขาต้องต่อสู้กับตัวร้ายที่กำลังจะยึดครองโลก และเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ลงใน “บันทึกคำทำนาย” ต่อมาในปี 1997 เคนจิกลายมาเป็นผู้จัดการร้านสะดวกซื้อและใช้ชีวิตธรรมดา ๆ หลังจากได้ล้มเลิกความฝันที่จะเป็นร็อคสตาร์ แต่แล้วก็ได้เกิดเหตุการณ์ที่เพื่อนเก่าสมัยประถมได้เสียชีวิตลงอย่างปริศนา และทั้งครอบครัวในละแวกนั้นก็ได้หายตัวไป ทำให้ชีวิตอันแสนน่าเบื่อของเคนจิต้องเปลี่ยนไป แถมในเวลาเดียวกันนั้น ลัทธิที่มีผู้นำลึกลับชื่อว่า “เพื่อน” ได้ปรากฏตัวขึ้น พร้อมกับเหตุการณ์ประหลาดที่เหมือนลอกมาจากคำทำนายที่ถูกเขียนลงในบันทึกสมัยเด็กของเขากับเพื่อน ๆ
นั้น ได้เกิดขึ้นอย่างเชื่อมโยงกันไปหมด
หลายคนคงรู้จักภาพยนตร์เรื่อง เดธโน้ต (Death Note) ที่ดัดแปลงจากการ์ตูนมังงะและอนิเมะ มาสู่ภาพยนตร์ และเมื่อไม่นานมานี้ ก็เพิ่งมีเป็นเวอร์ชั่นซีรี่ย์ทางทีวีออกมา ในความเห็นของผู้เขียนนั้น ภาพยนตร์เดธโน้ตมีการเขียนบทที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่นัก แต่อย่างไรก็ตามมังงะต้นฉบับก็ยังมีอิทธิพลในตัวของมันเองอยู่ เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เคนอิจิ มัตสึมายะ (Kenichi Matsuyama) มาร่วมแสดงนำ และด้วยการแสดงที่ยอดเยี่ยมของเขา ได้ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้เข้ามาอยู่ในรายชื่อภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยมของเรา!
เดธโน้ต: อวสานสมุดมรณะ (Death Note: The Last Name) เป็นภาคที่สองของภาพยนตร์ไลฟ์-แอคชั่น ที่สร้างมาจากมังงะ เดธโน้ต (Death Note) และอนิเมะ ของสึงุมิ โอบะ (Tsugumi Ohba) และ ทาเคชิ โอบาตะ (Takeshi Obata) เป็นเรื่องเกี่ยวกับนักเรียนหนุ่มที่ชื่อว่า “ยางามิ ไลท์” (“Light” Yagami) (ภายหลังใช้ชื่อว่า “คิระ”) ผู้ที่ตัดสินใจจะกำจัดโลกแห่งความชั่วร้ายและอาชญากร ด้วยการใช้สมุดบันทึกที่มีพลังเหนือธรรมชาติ ที่สามารถฆ่าใครก็ตามที่ถูกเขียนชื่อลงในสมุดเล่มนี้ ด้วยเหตุนี้ตำรวจจึงเข้ามามีส่วนร่วมในการตามหาตัวคิระ โดยได้รับความช่วยเหลือจากแอล (L)– นักสืบหนุ่มลึกลับผู้มีพรสวรรค์
ภาพยนตร์ภาคที่สองนี้ดีกว่าภาพยนตร์ภาคแรกมากในความเห็นของผู้เขียน โดยเฉพาะเพลงประกอบและตอนจบที่คาดไม่ถึง ยกเว้นตัวละครบางตัวที่ถูกทิ้งไว้เบื้องหลังรวมถึงยมฑูตลุค (Ryuk) ที่ดูน่าตลกขบขัน แต่โดยภาพรวมถือว่าภาพยนตร์ยังคงความน่าตื่นเต้น ความฉลาดปราดเปรื่อง และควรค่าแก่การรับชม
กันสึ (Gantz) เป็นการ์ตูนมังงะที่เขียนเนื้อเรื่องและภาพประกอบโดย ฮิโรยะ โอคุ (Hiroya Oku) เป็นเรื่องราวของ เคย์ คุโรโนะ (Kei Kurono) และ มาซารุ คาโต้ (Masaru Kato) ที่ทั้งคู่เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทางรถไฟ และกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของ “เกม” ที่พวกเขาและคนอื่น ๆ ถูกบังคับให้ตามล่าและสังหารมนุษย์ต่างดาว ด้วยสิ่งของและอาวุธล้ำสมัยจากอนาคต แม้ว่าทั้งมังงะและอนิเมะจะถูกควบคุมเพราะเรื่องของความรุนแรงและเนื้อหาทางเพศ แต่องค์ประกอบเหล่านี้จะไม่ปรากฏในภาพยนตร์มากนัก
ภาพยนตร์เรื่องนี้มีความน่าสนใจจากการแสดงที่ดีเยี่ยมของสองนักแสดงหลักอย่าง เคนอิจิ มัตสึยามะ (Kenichi Matsuyama) และคาซึนาริ นิโนมิยะ (Kazunari Ninomiya) ประกอบกับมุมกล้อง และตัวร้ายที่มีความน่าสนใจมากกว่าตัวร้ายในภาพยนตร์ตะวันตก ในส่วนของเนื้อหาก็จะมีการพูดถึงความสำคัญในการหาคำตอบถึงสิ่งที่ตัวเองเป็นของเหล่าตัวละคร รวมถึงการพยายามทำความเข้าใจซึ่งกันและกันอีกด้วย
ดัดแปลงจากมังงะของ มาริ ยามาซากิ (Mari Yamazaki) ภาพยนตร์เรื่องนี้เล่าเรื่องของสถาปนิกชาวโรมันผู้แสนจะจริงจังชื่อว่า ลูเซียส โมเดสตุส (Lucius Modestus) เมื่อเพื่อนของเขาพาลูเซียสไปที่โรงอาบน้ำสาธารณะเพื่อปลอบโยนชายหนุ่ม ลูเซียสได้ข้ามเวลาไปโดยบังเอิญ ไปที่โรงอาบน้ำสาธารณะในยุคปัจจุบันของญี่ปุ่น และในญี่ปุ่นนั้น เขาได้พบกับนักเขียนการ์ตูนสาว มามิ (Mami) และคนอื่น ๆ ในกลุ่ม “พวกไร้ดั้ง (flat-faced clan)” ด้วยมุมมองที่สร้างสรรค์ของวัฒนธรรมการอาบน้ำญี่ปุ่นที่ชวนตะลึง ทำให้ลูเซียสกลับมาสู่กรุงโรมในยุคโบราณ และได้สร้างความสนใจเป็นอย่างมาก เมื่อเขานำแนวคิดจากญี่ปุ่นกลับมาด้วย การท่องเวลาผ่านไปมาระหว่างกรุงโรมโบราณกับญี่ปุ่นสมัยใหม่นั้น ชื่อเสียงของลูเซียสในฐานะสถาปนิกด้านโรงอาบน้ำสมัยใหม่จึงเริ่มโด่งดังขึ้น
นี่เป็นภาพยนตร์ที่ให้ความสนุกและความบันเทิงอย่างแท้จริง พร้อมกับเพลงประกอบที่ไพเราะ การจัดฉากที่น่าสนใจและการแสดงที่ดี นอกจากจะได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวัฒนธรรมการอาบน้ำและรูปแบบสถาปัตยกรรมแล้ว ความโรแมนติกระหว่างตัวละครยังทำให้เกิดอารมณ์ขัน และสร้างความประทับใจที่ได้ดูพัฒนาการความสัมพันธ์ของพวกเขา
นี่คือตอนจบของซีรีย์ Hana Yori Dango หรือ รักใสหัวใจเกินร้อย (F4 เวอร์ชั่นญี่ปุ่น) ที่สร้างมาจากหนังสือการ์ตูนโชโจมังงะ (มังงะสำหรับผู้หญิง) ยอดนิยม Hana Yori Dango (ชื่อไทยคือ สาวแกร่งแรงเกินร้อย) ที่เขียนโดย โยโกะ คามิโอะ (Yoko Kamio) ซึ่งได้ถูกดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ในเกาหลีและไต้หวันมาแล้วเช่นกัน
เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในโรงเรียนเอโตกุ (Eitoku Academy) ซึ่งเป็นโรงเรียนสำหรับลูกคุณหนู โดยเนื้อหาจะเน้นที่ตัวละครหลักของเรื่องที่ชื่อว่า สึกุชิ มากิโนะ ( Tsukushi Makino) เด็กสาวชั้นมัธยมปลายจากครอบครัวชนชั้นแรงงาน และสมาชิกทั้งสี่คนของกลุ่มดอกไม้ทั้งสี่แห่งเอโตกุ (Eitoku Academy’s Flower Four) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “F4”
แม้ว่าภาพยนตร์จะไม่ได้ดัดแปลงมาจากการ์ตูนมังงะ และเป็นการดำเนินเรื่องต่อจากซีรีย์ละครโทรทัศน์ทั้งสองภาค แต่ตัวภาพยนตร์ก็ยังคงมีกลิ่นอายของตัวละครอยู่ครบถ้วน และดูเหมือนว่าหลายคนจะหลงรักตอนจบในฉบับภาพยนตร์กันพอสมควร!
ซามูไรพ่อลูกอ่อน (Lone Wolf and Cub) หรือที่แปลตามภาษาญี่ปุ่นคือ “Wolf Taking Along his Child” ซึ่งจะมีชื่อแตกต่างกันเล็กน้อยในภาพยนตร์ โดยฉบับดัดแปลงนั้น มีชื่อที่ยาวกว่าเมื่อเทียบกับมังงะต้นฉบับ : Lone Wolf and Cub: Sword of Vengeance (ซามูไรพ่อลูกอ่อน: ดาบแห่งการแก้แค้น) เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับโรนิน (ซามูไรไร้สังกัด) ผู้ที่เดินทางไปในชนบทของญี่ปุ่นพร้อมเด็กตัวเล็ก ๆ กับการผจญภัยมากมาย เป็นมังงะของนักเขียน คาซุโอะ โคอิเคะ (Kazuo Koike) และนักวาด โกเซคิ โคจิมะ (Goseki Kojima)
แม้ว่าจะมีฉากการต่อสู้ที่รุนแรงคอยรบกวนอยู่บ้างก็ตาม แต่การตัดต่อและการถ่ายทำก็ทำได้เยี่ยมมาก โดยรวมแล้วภาพยนตร์เรื่องนี้มีความสวยงาม และเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ซามูไรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยสร้างมาเลยทีเดียว
เป็นที่รู้จักกันในชื่อของ Parasyte Kiseijuu (ชื่อไทยคือ ปรสิต เดรัจฉาน) เป็นการ์ตูน Sci-fi สยองขวัญ ของ ฮิโตชิ อิวาอากิ (Hitoshi Iwaaki) ซึ่งได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ไลฟ์-แอคชั่นด้วยกันสองภาค ในปี 2014 และ 2015
เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษยชาติที่ได้รับความทุกข์ทรมานจากการฆาตกรรมทั่วโลก ที่เรียกว่า “mincemeat murders” (การถูกล่าเพื่อกินเป็นอาหาร) โดยมีตัวเอกของเรื่องอย่าง อิซุมิ ชินอิจิ (Izumi Shinichi) นักเรียนมัธยมปลายที่มีปรสิตอาศัยอยู่กับเขาที่มือข้างขวา ซึ่งเขาคือผู้ที่อาจจะค้นพบความจริงทั้งหมดของเรื่องนี้
ภาพยนตร์ดัดแปลงนี้ทำออกมาได้ดีมาก ๆ และค่อนข้างเกินความคาดหวังของผู้เขียนจริง ๆ เค้าโครงเรื่องนั้นยอดเยี่ยม เต็มไปด้วยความตื่นเต้น และมีข้อความที่ชวนให้คิดตาม แต่ถ้าคุณเป็นแฟนของทั้งอนิเมะและมังงะ ในช่วงเริ่มต้นของภาพยนตร์เรื่องนี้อาจจะมีแง่มุมแปลก ๆ ที่ไม่เหมือนสิ่งที่คุณได้เห็นในอนิเมะหรือมังงะเลย
ดัดแปลงมาจากมังงะชื่อ Basilisk (Basilisk: The Koga Ninja Scrolls) (เนตรสยบมาร ในชื่อไทย) ของมาซากิ เซกาวะ (Masaki Segawa) ไม่ใช่แค่เพียงภาพยนตร์เท่านั้น แต่ตัวมังงะเองก็มีจุดที่แตกต่างจากอนิเมะ เนื่องจากเรื่อง Shinobi (หรือ Basilisk) นั้น สร้างมาจากนิยายชื่อ The Kouga Ninja Scrolls
ภาพยนตร์เรื่องนี้เกิดขึ้นในปี 1614 เมื่อโชกุนเชื่อว่ากลุ่มสำนักนินจาต่าง ๆ เป็นภัยคุกคามที่เป็นอันตรายในการรักษาสันติภาพในดินแดนของเขา และที่ปรึกษาของโชกุนวางแผนที่จะทำลายเหล่านักรบที่ดีที่สุดของพวกเขาในการแข่งขันต่อสู้ ซึ่งในขณะนั้นเอง อิงะ โอโบโระ (Iga Oboro) และ โคงะ เก็นโนะสุเกะ (Koga Gennosuke) ได้ตกหลุมรักกัน แต่แล้วเมื่อยายของโอโบโระ ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มโอเง็น (Ogen) และพ่อของเก็นโนะสุเกะ ผู้นำกลุ่มดังโจ (Danjo) ได้เสียชีวิตลงจากการปลิดชีพของกันและกัน โอโบโระและเก็นโนะสุเกะจึงต้องนำนักรบของพวกเขาเข้าสู่สงครามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดระหว่างสองตระกูล
นี่เป็นภาพยนตร์ที่ยอดเยี่ยม แต่ไม่ได้มีฉากที่รุนแรงมากนัก พร้อมกับมีโครงเรื่องที่เขียนได้ดี นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวที่ไม่ได้เกี่ยวกับความรักไปเสียทั้งหมด รวมถึงมีฉากแอคชั่นที่ออกแบบท่าทางการต่อสู้ได้อย่างสวยงามและน่าตื่นเต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาพยนตร์ที่ยอดเยี่ยมทีเดียว!
ภาพยนตร์เรื่อง Rurouni Kenshin: Kyoto Inferno (รูโรนิ เคนชิน: โตเกียวทะเลเพลิง) มีอิทธิพลอย่างมากต่อผู้ชมทุกกลุ่ม โดยมังงะ The Rurouni Kenshin (หรือซามูไรพเนจร ในชื่อไทย) ตีพิมพ์ออกจำหน่ายไปแล้วกว่า 70 ล้านเล่ม จนถึงปี 2014 ในขณะที่อนิเมะก็ได้รับการจัดอันดับเป็น 1 ใน 100 อนิเมะที่น่าจับตามองที่สุดในญี่ปุ่นมาหลายครั้ง ซึ่งเรื่องนี้ได้รับการยกย่องในเรื่องการออกแบบตัวละคร และความสมบูรณ์แบบของฉากหลังทางประวัติศาสตร์
ในภาพยนตร์ดัดแปลงนี้ เคนชิน ฮิมุระ (Kenshin Himura) ได้ต่อกรกับ มาโกโตะ ชิชิโอะ (Makoto Shishio) ที่แสนชั่วร้าย ซึ่งกำลังพยายามจะโค่นรัฐบาลเมจิ ชะตากรรมของประเทศนั้นแขวนอยู่กับการตัดสินใจของ เคนชิน ฮิมุระ ในการจับดาบที่เขาสาบานว่าจะไม่กวัดแกว่งมันขึ้นมาอีกครั้ง
นี่เป็นงานผลิตภาพยนตร์น่าประทับใจที่ผู้เขียนอยากแนะนำให้คุณได้รับชม! ทั้งการแสดง การถ่ายทำภาพยนตร์ เครื่องแต่งกาย และการออกแบบฉากทางประวัติศาสตร์ทั้งหมดนั้น ทำออกมาได้ดีมาก ทั้งยังมีฉากการต่อสู้ที่เยี่ยมยอดด้วยเช่นกัน! ถ้าคุณเป็นแฟนของอนิเมะอยู่แล้ว ภาพยนตร์เรื่องนี้จะไม่ทำให้คุณผิดหวัง ถ้าคุณยังไม่รู้จักกับ Rurouni Kenshin หรือ ซามูไรพเนจร ภาพยนตร์เรื่องนี้อาจกระตุ้นให้คุณอยากลองหาต้นฉบับมาอ่านก็เป็นได้!