ในยุคสมัยที่ธุรกิจต้องมีความพร้อมในการปรับตัวอยู่ตลอดเวลาเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจในส่วนของการคัดสรรพนักงานก็เป็นอีกขั้นตอนที่สำคัญเพราะพนักงาน คือ หัวใจที่สำคัญของบริษัท นอกจากนี้การรักษาพนักงานที่มีคุณภาพเอาไว้ในยุคที่การเปลี่ยนงานบ่อยเป็นเรื่องปกติและทัศนคติในการทำงานนาน ๆ ในบริษัทเดียวตลอดทั้งชีวิตได้เปลี่ยนไปแล้วก็เป็นอีกความท้าทายของผู้จ้าง
ในญี่ปุ่นการเข้ามาทำงานในบริษัทเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการเริ่มต้นเข้าสู่ชีวิตการทำงานที่เรียกได้ว่าเป็นครึ่งหนึ่งของชีวิตคนเลย แม้ว่าระบบการจ้างงานตลอดชีวิตก่อนหน้านี้จะพังทลายลง แต่วัฒนธรรมการทำงานก็ไม่รุนแรงเท่าที่เคยเป็นมาและง่ายต่อการเปลี่ยนงานมากกว่าสมัยก่อน แต่คนส่วนใหญ่ยังคงปฏิบัติตามกฎเดิม ๆ ที่ว่า “งานแรกควรทำอย่างน้อยสามปีก่อนที่จะลาออกไปหางานใหม่” อย่างไรก็ตาม สำหรับการลาออกของพนักงานในยุคปัจจุบันก็มีเหตุผลที่น่าประหลาดใจอยู่มากมาย
このたび長年愛用していたガラケーを卒業し、スマホに変えました!まだまだスマホ扱うの不慣れですが、フォロワーの皆さま、よろしくお願いします!!約10年間お世話になったガラケー、ありがとう✨ pic.twitter.com/sUDMeShRx3
— 野うさぎ (@nousagi1001) July 19, 2020
หลายบริษัทได้ให้โทรศัพท์มือถือแก่พนักงานสำหรับใช้งานในบริษัท เพื่อสื่อสารเรื่องงานและโทรหาลูกค้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับอาชีพ เช่น ธุรกิจประกันภัยธุรกิจและสื่อต่าง ๆ ที่ต้องเดินทางบ่อย พนักงานบริษัทประกันเล่าว่า ครั้งหนึ่งเขาเคยฝึกงานให้กับพนักงานใหม่ ซึ่งในช่วงเช้าทุกอย่างก็ดูเป็นไปด้วยดีไม่ว่าจะเป็น การพูดคุยหรือความตั้งใจในการเรียนรู้งานของเขา และพวกเขาก็ยังพูดคุยและหัวเราะสนุกไปด้วยกัน แต่แล้วเมื่อกลับไปที่ออฟฟิศหลังหลังพักกลางวันที่ออกไปทานข้าวข้างนอก พนักงานใหม่คนนั้นได้บอกว่าเขาลืมของบางอย่างไว้ที่ร้านอาหารและจะกลับไปเอา ซึ่งหลังจากนั้น พนักงานใหม่คนนี้ก็ไม่ได้กลับมาที่ออฟฟิศและไม่ได้โทรมาแจ้งอะไรอีกเลย
จนกระทั่งวันหนึ่งพนักงานโทรเข้ามาในบริษัท และอธิบายว่าเหตุผลในการลาออกของเขา คือ “ฉันรู้สึกอายเพราะโทรศัพท์มือถือที่บริษัทให้ใช้ มันเป็นเครื่องแบบพับ เลยคิดว่าการลาออกจะเป็นการดีที่สุด” เรียกได้ว่า ผู้ว่าจ้างคงอึ้งไปเลยกับเหตุผลนี้ (ในอดีตประเทศญี่ปุ่นนิยมใช้โทรศัพท์แบบพับในช่วงยุค 90 จนถึงต้นยุค 2000 ก่อนที่จะมีการเข้ามาของสมาร์ทโฟน)
世界中のひとと繋げてくれるアイドル尊い。私は韓国のアイドルを好きになって、バラエティとかで言ってること直ぐに理解したくて韓国語勉強して分かるようになったし、そのアイドルを通して友達も沢山出来た。世界旅行もさせてくれるアイドル、最高。
\早く推しに会いたい!/ pic.twitter.com/llIUk2yuHq
— ^^ (@stc_2525_) July 20, 2020
ผู้บริหารของบริษัทจำนวนมากได้พบกับเหตุผลนี้ พนักงานใหม่บางคนลาออกหลังจากเข้าทำงานได้แค่หนึ่งเดือนด้วยเหตุผลว่า พวกเขากำลังจะเดินทางไปทั่วโลกและบางคนก็ลาออกหลังจากทำงานไปได้ระยะหนึ่ง สิ่งเหล่านี้น่าจะเกิดขึ้นทั่วโลกโดยเฉพาะกับคนรุ่นใหม่ในวัย 20 ต้น ๆ ที่ได้รับอิทธิพลจาก Blogger, Youtuber และรู้สึกว่าพวกเขาต้องตระหนักถึงความฝันของตัวเองโดยเร็วที่สุด
บริษัทเองก็มองว่า คุณควรจะตระหนักถึงความฝันของตัวเองให้ได้ตั้งแต่เริ่มต้นก่อนที่จะตัดสินใจเข้าร่วมงาน เพราะค่าใช้จ่ายที่บริษัทต้องลงทุนไปกับการฝึกอบรมไปก็มากและสุดท้ายพนักงานก็ลาออกไป
การสนทนา
เมื่อคุณเข้าสู่สังคมทำงานควรใช้ความสุภาพ พนักงานใหม่ในยุคปัจจุบันไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ภาษาญี่ปุ่นมีระดับการพูดหลากหลายและในการทำงานจะต้องใช้ภาษาแบบธุรกิจทั้งกับเพื่อนร่วมงานก็เช่นกัน
ตัวอย่าง
ตอบใช่หรือไม่ใช่:「うん」(x) ->「はい」(O)
รับโทรศัพท์:「もしもし」(x) ->「お世話になっております Osewa ni natte orimasu (ใช้กับบุคคลภายนอก)/お疲れ様です Otsukaresamadesu
(ใช้กันภายในบริษัท)」(O)
ความสัมพันธ์ของระดับ
พนักงานดื่มมากเกินไปที่งานเลี้ยงต้อนรับและรีบติดต่อกับผู้อาวุโสในทันที หรือเมื่อคุณถูกหัวหน้าของคุณดุ คุณก็ยังมีหน้าหัวเราะอยู่ดี แม้ว่าหลาย ๆ บริษัทจะไม่มีความสัมพันธ์แบบบน – ล่างที่เข้มงวดอีกต่อไป แต่พวกเขาก็ยังต้องปฏิบัติตามขอบเขตที่มองไม่เห็นนั้นและรักษาระยะห่างที่เหมาะสมระหว่างด้านบนและด้านล่าง
เรื่องส่วนรวมและส่วนตัว
โดยปกติการขอลาหยุดด้วยเรื่องส่วนตัวไม่ได้ยากอะไร ไม่ว่าจริง ๆ แล้วจะเป็นเหตุผลอะไรก็ตาม มีบางครั้งที่พนักงานใหม่ผลักภาระไปให้รุ่นพี่ในที่ทำงานในนัดหมายสำคัญ โดยอ้างว่าป่วยแต่อันที่จริงแล้วพวกเขาแค่เมาค้างจากคอนเสิร์ตเมื่อคืนหรือบังเอิญตรงกับวันเกิดของพวกเขาเท่านั้น
ในประเทศไทย การทำงานอาจจะไม่ได้มีพิธีรีตรองมากนัก เราอาจจะมาถึงออฟฟิศพร้อมนั่งทางอาหารเช้าไปด้วบบนโต๊ะหรือแวะไปซื้อกาแฟมานั่งกินก่อนจะเริ่มทำงาน (แม้จะถึงเวลางานแล้ว) ก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิด (ตราบใดที่รับผิดชอบงานของเราให้เสร็จลุล่วง) หรือแม้แต่คุยกับหัวหน้าอย่างเป็นกันเอง แต่ถ้าต้องทำงานในประเทศญี่ปุ่นโดยเฉพาะในบริษัทที่ยังมีวัฒนธรรมองค์กรแบบเดิมที่เคร่งครัด การปรับตัวและเรียนรู้วัฒนธรรมการทำงานของญี่ปุ่นเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคุญเป็นอันดับแรก