แม้ว่าภาษาญี่ปุ่นจะไม่จำเป็นสำหรับการเดินทางและการเอาตัวรอดในญี่ปุ่นเท่าไหร่นัก แต่การรู้คำศัพท์พื้นฐานไว้บ้างก็จะช่วยให้ชีวิตง่ายขึ้น เนื่องจากภาษาสามารถเป็นสะพานระหว่างตัวคุณกับผู้คนในพื้นที่ได้ รวมถึงใช้ในการร้องขอและดำเนินการต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น ดังนั้นการเรียนรู้คำศัพท์พื้นฐานเอาไว้บ้างหรืออย่างน้อยก็จดเอาไว้สำหรับใช้เวลาหลงทางหรือต้องการความช่วยเหลือก็ถือว่าเป็นความคิดที่ไม่เลว
時差出勤中、
緊急地震速報で
電車が止まっている。千葉沖で発生したらしい。#川崎フロンターレ pic.twitter.com/Gli1dG1M41
— 川上一号 (@x14_nnn) July 30, 2020
ใครที่เดินทางไปญี่ปุ่นต้องมีโอกาสได้ใช้รถไฟอย่างแน่นอน โดยเฉพาะตามเมืองใหญ่ที่มีทั้งรถไฟใต้ดินและรถไฟท้องถิ่น ซึ่งรถไฟถือเป็นวิธีเดินทางระหว่างเมืองที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด รถไฟและสถานีรถไฟของญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะมีคำแปลภาษาอังกฤษอย่างง่าย ๆ สำหรับสถานที่และข้อมูลสำคัญต่าง ๆ อยู่ และจะเห็นได้ว่าในสถานีทุกแห่งและรถไฟทุกสายโดยเฉพาะในโตเกียวจะมีการเขียนชื่อเป็นตัวภาษาอังกฤษกำกับไว้ รวมถึงภาษาจีนและภาษาเกาหลีในบางสถานี แต่ทันทีที่ก้าวเข้าไปในสถานีรถไฟก็จะพบว่าสิ่งที่ได้เห็นและได้ยินเกือบทั้งหมดยังคงเป็นภาษาญี่ปุ่น ซึ่งฟังดูเป็นเรื่องน่ากลัวสำหรับชาวต่างชาติที่รู้ภาษาญี่ปุ่นเพียงเล็กน้อยหรือไม่รู้เลย
ถึงแม้ว่าชาวญี่ปุ่นจะยินดีช่วยเหลือชาวต่างชาติเวลาหลงทาง แต่การรู้ภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานเอาไว้ก็น่าจะดีกว่า เพราะอาจช่วยแก้ปัญหาได้ดีขึ้นและทำให้มีเวลาสัมผัสประสบการณ์การโดยสารรถไฟในญี่ปุ่นได้มากขึ้น
ตารางต่อไปนี้เป็นคำศัพท์ที่สำคัญที่พบเห็นหรือได้ยินบนรถไฟและสถานีรถไฟ รวมถึงรูปประโยคที่มีคำศัพท์เหล่านั้นอยู่ โดยในตารางจะประกอบด้วยคำอ่านเป็นตัวภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่น และคำแปลเป็นภาษาไทย ให้จดไว้หรือบุ๊คมาร์คหน้าเพจนี้ หรือถ้าใครที่อยากเรียนภาษาญี่ปุ่น ก็สามารถจดจำคำศัพท์นี้ได้
คำอ่าน | คำภาษาญี่ปุ่น | คำแปลภาษาไทย |
---|---|---|
เดนฉะ/Densha | 電車 | รถไฟฟ้า |
จิกะเท็ตสึ/Chikatetsu | 地下鉄 | รถไฟใต้ดิน |
เอกิ/Eki | 駅 | สถานี |
โฮ-มุ/Ho-mu | ホーム | ชานชาลา |
เซ็น/Sen | 線 | เส้น, สาย (รถไฟ) |
อะบุนัย/Abunai | 危ない | อันตราย |
คิเคน/Kiken | 危険 | อันตราย |
มาโมนะกุ/Mamonaku | まもなく | อีกสักครู่ |
โกโจฉะ/Gojosha | ご乗車 | ขึ้นรถ |
ซึงิ/Tsugi | 次 | ต่อไป |
ยูกิ/Yuki | 行き | จุดหมาย |
โฮเมน/Homen | 方面 | ไปทาง… |
ชูวเต็น/Shuuten | 終点 | (สถานี) ปลายทาง |
คิปปุ/Kippu | 切符 | ตั๋ว |
โอตสึริ/Otsuri | おつり | เงินทอน |
โดอา/Doa | ドア | ประตู |
ฟุตสึอุ/Futsuu | 普通 | รถไฟขบวนธรรมดา |
คากุเอะกิเตะอิฉะ/Kakuekiteisha | 各駅停車 | รถไฟขบวนที่จอดทุกสถานี (local) |
ไคโซกุ/Kaisoku | 快速 | รถไฟขบวนที่จอดเฉพาะบางสถานี (rapid) |
โนริกาเอะ/Norikae | 乗り換え | เปลี่ยนรถ |
คาเกะโกะมิ/Kakekomi | かけこみ | การกระโจนขึ้นรถขณะกำลังจะออก |
โกจูอิ/Gochuui | ご注意 | “โปรดทราบว่า…” หรือ “โปรดระวัง…” |
โกอันไน/Goannai | ご案内 | ข้อมูลหรือคำแนะนำ |
คิงเอ็น/Kin’en | 禁煙 | ห้ามสูบบุหรี่ |
โนโบะริ/Nobori | 上り | ขาขึ้น |
คุดาริ/Kudari | 下り | ขาลง |
มิงิ/Migi | 右 | ขวา |
ฮิดาริ/Hidari | 左 | ซ้าย |
เอสึกาเล-ต้า/Esukare-ta- | エスカレーター | บันไดเลื่อน |
เอเลเบต้า/Erebeta | エレベーター | ลิฟต์ |
เดะกุจิ/Deguchi | 出口 | ทางออก |
อิริกุจิ/Iriguchi | 入口 | ทางเข้า |
สำหรับผู้ที่ไม่รู้ภาษาญี่ปุ่นเลยก็ไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับเรื่องตัวอักษรแต่อย่างใด เพียงจดจำภาษาญี่ปุ่นในตารางข้างต้นเอาไว้ก็อาจช่วยให้ดูคำศัพท์ที่สำคัญออกได้บ้างเวลาอยู่ที่ญี่ปุ่น และยังสามารถใช้วิธีเปิดให้คนญี่ปุ่นดูแทนได้หากไม่กล้าพูด
หลังจากที่ได้เรียนรู้คำศัพท์พื้นฐานกันแล้ว ต่อไปมาดูกันว่ามีวิธีใช้จริงอย่างไรบ้าง
-
เมื่อรถไฟเข้าสู่สถานีจะปรากฏข้อความ
「電車がまいります」 (“เด็นฉะ กะ ไมริมัส/Densha ga mairimasu”)
หรือ 「電車がきます」 (“เด็นฉะ กะ คิมัส/Densha ga kimasu”) แปลว่า “รถไฟกำลังมา”ทั้งสองประโยคนี้ต่างกันตรงที่คำว่า “ไมริมัส/mairimasu” จะสุภาพกว่าเล็กน้อย
-
เมื่อรถไฟกำลังจะถึงสถานีจะมีเสียงประกาศดังขึ้นว่า
(ตัวอย่าง) 「まもなく、一番線に東京方面行きがまいります。 危ないですから黄色い線までお下がりください」 (“มาโมนากุ อิจิบัน เซ็น นิ, โตเกียว ยูกิ กะ ไมริมัส, อะบุนัย เดสกะระ คิโร่ย เซ็น มาเดะ โอซาการิ กุดาไซ”)
ประโยคแรกแปลว่า “อีกสักครู่รถไฟที่จะไปทางโตเกียวจะเข้าสู่ชานชาลา (สาย) ที่ 1” ส่วนประโยคที่สองเป็นการแจ้งให้ผู้โดยสารยืนหลังเส้นสีเหลืองเนื่องจากหากยืนใกล้ขอบมากเกินไปอาจเกิดอันตรายได้
ซึ่งคำว่า 線 (เซ็น/sen) ในทั้งสองประโยคมีความหมายแตกต่างกัน โดยประโยคแรกหมายถึง “ชานชาลา” ส่วนประโยคที่สองหมายถึง “เส้น” สีเหลือง บนชานชาลา
-
ประโยคข้างต้นอาจพูดได้อีกแบบว่า
「白線の内側にさがってお待ちください」 (“ฮากุเซ็น โนะ อุจิกะว่า นิ ซางัตเตะ โอมาจิ กุดาไซ”) หมายถึงให้ผู้โดยสารยืนรอหลังเส้นสีขาว -
เมื่อก้าวเข้าไปในขบวนรถไฟ (หรือขณะที่รถไฟกำลังวิ่งอยู่) จะมีเสียงประกาศว่า
「ご乗車ありがとうございます」 (“โกโจฉะ อาริกาโตะ โกไซอิมัส”)
แปลว่า “ขอขอบพระคุณสำหรับการโดยสารของท่าน” ซึ่งเป็นวิธีที่พนักงานขับรถไฟใช้ในการกล่าวต้อนรับและขอบคุณผู้ใช้บริการ -
บางครั้งพนักงานขับรถไฟจะประกาศว่า
「発車します」 (“ฮัสฉะ ชิมัส”) เพื่อแจ้งว่ารถไฟกำลังจะออก หรืออาจพูดว่า “ฮัสฉะ อิตะชิมัส” ซึ่งมีความหมายเหมือนกันเพียงแต่สุภาพขึ้นเล็กน้อย -
เวลาแจ้งสถานีถัดไป จะพูดว่า
「次は、___ 」 (“ซึงิวะ,____”)
หรือ 「まもなく、__ 」 (“มาโมนากุ,____”) ตามด้วยชื่อสถานี
โดยคำว่า「まもなく」 (“มาโมนากุ”) มักจะใช้ในกรณีที่รถไฟอยู่ห่างจากชานชาลา หรือ 「ホーム」 (“โฮ-มุ/Hōmu”) เพียงเล็กน้อย - เมื่อรถไฟกำลังจะจอดจะมีเสียงประกาศว่าประตูรถจะเปิดทางด้านไหน 「出口は、左/右 側です」 (“เดกุจิ วะ, ฮิดาริ/มิงิ กะวะ เดส”) หรือบางขบวนก็จะมีหน้าจอแจ้งให้ทราบว่าประตูจะเปิดทางด้านไหน
-
เวลาประตูปิดจะมีการแจ้งว่า
「ドアが閉まります」 (“โดอา กะ ชิไมริมัส”) ส่วนเวลาประตูเปิดจะแจ้งว่า 「ドアが開きます」(”โดอา กะ อะกิมัส”)ส่วนประโยค 「閉まるドアにご注意ください」 (“ชิมารุ โดอา นิ โกจูอิ กุดาไซ”) เป็นการแจ้งให้ผู้โดยสารระวังประตูที่กำลังจะปิดเพื่อความปลอดภัย
-
สติ๊กเกอร์บนประตูรถไฟที่มีข้อความ
「かけこみ乗車はキケンです」 (“คาเกะโกมิ โจฉะ วะ คิเคน เดส”) เป็นการเตือนผู้โดยสารว่าอย่าวิ่งขึ้นรถตอนกำลังจะออกเนื่องจากอาจเกิดอันตรายได้ ซึ่งบางทีคำว่า 危険 (คิเคน/kiken) ก็เขียนเป็นตัวคาตาคานะว่า (キケン) เพื่อเน้นถึงคำว่าอันตรายให้ชัดเจนขึ้น - เมื่อรถไฟจอดที่สถานีที่มีรถไฟสายอื่นให้บริการมากกว่าหนึ่งราย จะมีประกาศแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับการต่อรถว่า 「___線はお乗換えです」(“____-เซ็น วะ โอ โนริกาเอะ เดส”) อันเป็นการแจ้งให้ทราบถึงสายรถที่สามารถไปต่อได้ หรืออาจมีการแจ้งเกี่ยวกับการต่อรถตามหลังประโยค 「乗り換えのご案内です」 (“โนริกาเอะ โนะ โกอันไน เดส”)
- ประเภทของรถไฟจะมีการประกาศแจ้งให้ทราบและมีปรากฏบนหน้าจอ โดยขบวนธรรมดา (จอดทุกสถานีบนเส้นทาง) จะเรียกว่า 普通 (ฟุตสึอุ/futsuu) หรือ 各駅停車 (คากุเอะกิเตะอิฉะ/kakuekiteisha) ส่วนขบวนรถเร็ว 快速 (ไคโซกุ/kaisoku)
- 切符 (คิปปุ/kippu) หรือ ตั๋วรถไฟ มีจำหน่ายที่จุดขายตั๋ว หรือ きっぷうりば (คิปปุ อุริบะ/kippu uriba) สำหรับสัญลักษณ์บนเครื่องขายตั๋วโดยทั่วไปจะใช้อักษรฮิรางานะเพียงอย่างเดียว และอย่าลืมหยิบ おつり (โอตสึริ/otsuri) หรือ เงินทอนเมื่อซื้อเสร็จด้วย!
สำหรับเครื่องจำหน่ายตั๋วและแผนที่เกือบทั้งหมดนั้นจะมีภาษาอังกฤษกำกับไว้ด้วย ดังนั้นจึงน่าจะสามารถช่วยให้ขึ้นลงรถไฟญี่ปุ่นกันได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาญี่ปุ่น แต่หากสามารถเข้าใจเสียงประกาศได้แม้เพียงเล็กน้อยก็จะช่วยให้สามารถเดินทางสู่จุดหมายได้อย่างสบายใจยิ่งขึ้น การเดินทางด้วยรถไฟและรถไฟชินคันเซ็นในญี่ปุ่นนั้นเป็นประสบการณ์อันมีค่า ซึ่งสามารถพบเห็นพฤติกรรมแปลก ๆ อย่างการงีบบนรถไฟ การดันผู้โดยสารอัดเข้าไปในขบวนรถ รวมถึงข้อปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อความสุภาพที่สามารถพบเห็นได้ทั้งตามชานชาลาและบนขบวนรถไฟ ลองใช้คำศัพท์ใหม่ ๆ เหล่านี้ดูถ้ามีโอกาส และขอให้สนุกกับการเดินทาง!