ต้นซากุระและต้นบ๊วยต่างก็มีความโดดเด่นจากดอกสีชมพูที่แสนสวยของมัน ซึ่งดอกทั้งสองชนิดนี้ สามารถเห็นกันได้อย่างแพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น ประเทศเกาหลี และประเทศจีน อย่างไรก็ตามดอกซากุระในประเทศญี่ปุ่นจะได้รับความนิยมมากกว่าดอกบ๊วย แต่ทั้งสองดอกนี้ก็มักจะถูกเข้าใจผิดอยู่บ่อยครั้ง เพราะมีหน้าตาที่เหมือนกันแทบแยกไม่ออกเลยทีเดียว โดยเฉพาะหากเราได้มองเห็นจากระยะไกล ดังนั้นเราจะมาช่วยคุณวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างต้นไม้ทั้งสองชนิด ซึ่งอันที่จริงแล้วมีข้อแตกต่างเยอะพอสมควรและแทบจะไม่มีความเหมือนกันเลย!
ต้นไม้ทั้งสองชนิดนี้มาจากสกุลทางชีววิทยาเดียวกัน คือ Prunus แต่ความคล้ายคลึงกันก็หยุดอยู่แค่ตรงนี้! เพราะ “ต้นซากุระ” (“sakura (桜)”) มาจากสกุลย่อยที่ชื่อว่า Cerasus และเป็นสายพันธุ์ Prunus serrulata ในขณะที่ต้นบ๊วยหรือที่รู้จักในชื่อญี่ปุ่นว่า “อุเมะ” (“ume (梅)” ) มาจากสายพันธุ์ Prunus mume จะเห็นได้ว่าชื่อทางวิทยาศาสตร์ก็บอกใบ้ไปในตัวแล้วว่าทั้งต้นซากุระและต้นบ๊วยนั้น ไม่ใช่ต้นไม้ชนิดเดียวกันอย่างแน่นอน!
ดอกซากุระ
- กลีบดอกของซากุระจะมีลักษณะแคบกว่าดอกบ๊วย
- บริเวณปลายของแต่ละกลีบดอกจะมีลักษณะเป็นแฉก (ถึงแม้ว่าในบางครั้งจะดูไม่ค่อยออกก็ตาม)
- สีของดอกจะมีสีขาวและสีชมพู
ดอกบ๊วย
- กลีบของดอกบ๊วยจะมีลักษณะกลมและมนกว่าดอกซากุระ
- สีของดอกมีตั้งแต่สีขาวไปจนถึงสีแดงเข้มเฉดม่วง
ดอกซากุระ
- ก้านมีความยาวกว่า
- ตามก้าน จะมีดอกหลายดอกต่อหนึ่งตา
- ตามีลักษณะเป็นวงรี
ดอกบ๊วย
- ไม่มีก้านดอก ดอกแทบจะบานออกมาจากกิ่งไม้เลย
- ตามก้านจะมีเพียงหนึ่งดอกต่อตา
- ตามีลักษณะเป็นวงกลม
ดอกซากุระ
- สีของใบเป็นสีเขียวหรือสีน้ำตาลแดง และจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง, แดง หรือแดงเข้มในช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วง
- ใบเรียงสลับกัน
- ก้านใบสั้น
- ขอบใบมีรอยหยัก
- จะสามารถเห็นใบหลังจากดอกบานแล้ว
ดอกบ๊วย
- สีของใบเป็นสีแดงอมม่วงหรืออมเขียวในบางครั้ง
- ใบมีลักษณะเป็นวงรีและมีปลายใบที่แหลมและไม่ม้วน
- จะสามารถเห็นใบขณะที่ดอกไม้กำลังบาน หรือหลังจากที่กลีบดอกเริ่มร่วงได้ไม่นาน
ดอกซากุระ
- มีสีอ่อน ประมาณสีน้ำตาลลูกเกาลัด/ค่อนข้างเทา
- เปลือกเรียบ เห็นเส้นแนวนอนที่ชัดเจน
ดอกบ๊วย
- เปลือกส่วนใหญ่จะมีสีเข้ม/ เกือบดำ บางครั้งอาจจะมีสีเทาแซมเขียวเล็กน้อย
- เปลือกขรุขระเล็กน้อย ไม่มีเส้นแนวนอนให้เห็น
ลำต้นของต้นซากุระ
- มียอดลำต้นที่หนา
- สามารถเจริญเติบโตจนมีความสูงถึง 26 ถึง 39 ฟุต (8 ถึง 12 เมตร)
- มีดอกไม้ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น แทบจะปกคลุมลำต้นและกิ่งก้านทั้งหมด
ลำต้นของต้นบ๊วย
- มีความสูง 13 ถึง 33 ฟุต (4 ถึง 10 เมตร)
- มีดอกขึ้นอย่างเบาบางและกระจัดกระจายเมื่อเทียบกับดอกซากุระ
ดอกซากุระ
- กลิ่นจางมาก หรือ แทบจะไม่มีกลิ่นเลย
ดอกบ๊วย
- จะได้กลิ่นหวานหอมของดอกไม้
ดอกซากุระ
- ช่วงกลางเดือนมีนาคม ถึงต้นเดือนเมษายน
ดอกบ๊วย
- ช่วงเดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม
ดอกซากุระ
- เป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่แสดงถึงประเทศญี่ปุ่น
- ด้วยธรรมชาติของดอกซากุระที่บานฟูฟ่อง ทำให้มันกลายเป็นสัญลักษณ์ของเมฆในประเทศญี่ปุ่น
- มักจะถูกใช้เป็นสัญลักษณ์เรียกขวัญกำลังใจให้กับเหล่าพลทหารญี่ปุ่นระหว่างสงคราม ดั่งคำคมที่ว่า “พร้อมและมีพลังดั่งดอกซากุระอันมากมายนับไม่ถ้วนที่กระจายปกคลุมไปทั่วทั้งพื้นปฐพี”
- เป็นสัญลักษณ์สำคัญของอิเรซุมิ (Irezumi) ซึ่งเป็นศิลปะการสักแบบโบราณของญี่ปุ่น
- มักจะปราฏในภาพเขียนและมีการกล่าวถึงดอกซากุระในวรรณกรรมญี่ปุ่น
ดอกบ๊วย
- มักจะปรากฏในภาพเขียนและถูกกล่าวถึงในวรรณกรรมจีน
- เป็นสัญลักษณ์ของฤดูหนาว แต่ก็มีนัยยะที่แสดงถึงการมาเยือนของฤดูใบไม้ผลิและตรุษจีน
- เป็นต้นไม้ประจำชาติของประเทศจีน
ดอกซากุระ
- เนื่องจากว่าต้นไม้ชนิดนี้เป็นพันธุ์ที่ปลูกแล้วไม่สามารถผลิตผลไม้ได้ ดอกซากุระจะมีหน้าที่หลักในการเพิ่มความงดงามให้กับสถานที่ รวมไปถึงในเทศกาลฮานามิ หรือ เทศกาลชมดอกไม้ของญี่ปุ่น
- กลีบดอกจะถูกนำมาดองและนำมาตกแต่งบนขนมวากาชิ ซึ่งเป็นขนมหวานแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น
- ตัวใบ (ส่วนใหญ่จะมาจากต้นซากุระโอชิมะ (Oshima) เพราะใบของต้นซากุระพันธุ์นี้จะมีความนุ่มเป็นพิเศษ) ซึ่งจะนำมาดองในน้ำเกลือ และนำมาใช้ทำขนมซากุระโมจิ (หมายเหตุ: คุณไม่ควรจะรับประทานดอกซากุระมากจนเกินไป เพราะดอกซากุระมีสารคูมาริน ซึ่งสามารถเป็นพิษต่อร่างกายได้ หากได้รับในปริมาณที่มากเกินไป)
ดอกบ๊วย
- ใช้ในการปรุงยาแพทย์แผนโบราณของจีน
- ผลบ๊วยมักจะนำมาดองเพื่อเป็นของรับประทานเล่นหรือใช้ในการปรุงอาหาร
- ผลบ๊วยสามารถนำมาทำเหล้าบ๊วย หรือเครื่องดื่ม เช่น น้ำบ๊วย และ เครื่องปรุงรสอื่น ๆ เช่น น้ำเชื่อมและซอส
- ใช้เป็นของตกแต่งในวันตรุษจีน
เราหวังว่าหลังจากที่คุณได้อ่านบทความนี้แล้ว คุณน่าจะหายสับสนระหว่างดอกไม้ของทั้งสองต้นนี้ที่ต่างก็มีสีชมพูทั้งคู่ และอย่าลืมว่าดอกไม้ที่มีดอกห้ากลีบไม่จำเป็นจะต้องเป็นดอกซากุระเสมอไปนะคะ!