การเข้าพิธีหมั้นของเจ้าหญิงมาโกะ พระราชนัดดาคนโตของสมเด็จพระจักพรรดิอากิฮิโตะ ไม่ได้นำมาซึ่งความปลื้มปิติและการเฉลิมฉลองพิธีมงคลเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังนำมาซึ่งประเด็นในเรื่องของบทบาทสตรีในราชวงศ์ญี่ปุ่น ซึ่งตามกฎมณเฑียรบาลของราชวงศ์อิมพีเรียลแห่งประเทศญี่ปุ่นที่ประกาศใช้ตั้งแต่ปี 1947 ในช่วงที่จักรพรรดิกลายเป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคีแทนการถูกมองว่าเป็นเทพ ในส่วนของเจ้าหญิงมาโกะที่จะเข้าพิธีเสกสมรสนั้น พระองค์จะต้องสละฐานันดรศักดิ์ รวมถึงลูกของพระองค์ในอนาคตไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตามจะไม่มีสิทธิในราชบัลลังก์ของญี่ปุ่น
【特設:特例法で皇室はどう変わる?】
天皇陛下の退位に向けた特例法が成立しました。約200年ぶりとなる天皇の退位が実現し、近代日本で初めて、天皇と上皇が同時に存在する時代を迎えることになります。https://t.co/pFvdZEUQAK #nhk_news— NHKニュース (@nhk_news) June 11, 2017
ราชวงศ์ของญี่ปุ่นมีสมาชิก 18 คน ส่วนมากเป็นเจ้าหญิงที่ได้เข้าพิธีเสกสมรสกับสามัญชนและต้องสละฐานันดรศักดิ์ ทำให้สมาชิกในราชวงศ์ญี่ปุ่นมีจำนวนน้อยลงเรื่อย ๆ และปัจจัยที่ถูกบัญญัติเพิ่มขึ้นในกฎมณเฑียรบาลนั้น ยิ่งทำให้ผู้ที่มีสิทธิขึ้นครองบัลลังก์ลดน้อยลงไปอีก
ปัจจุบันสมาชิกในราชวงศ์ที่เป็นผู้ชายมีทั้งหมด 5 พระองค์ คือ สมเด็จพระจักพรรดิอากิฮิโตะ, พระอนุชาเจ้าชายฮาตาชิ, พระราชโอรส มกุฎราชกุมารนารุฮิโตะ, เจ้าชายอาคิชิโนะ และลูกชายของเจ้าชายอาคิชิโนะ เจ้าชายฮิสะฮิโตะ ซึ่งภายใต้กฎมณเฑียรบาลฉบับปัจจุบัน ผู้ที่สามารถขึ้นครองราชบัลลังก์ได้จะมีเพียงลูกชายที่สืบเชื้อสายจากทางฝั่งชายเท่านั้น ซึ่งหมายความว่า ผู้สืบทอดในอนาคตจะต้องมีเชื้อสายมาจากสมาชิกของราชวงศ์คนใดคนหนึ่งจากที่กล่าวมาเท่านั้น จึงจะมีสิทธิครองบัลลังก์
นอกจากนี้ กฎหมายยังได้กำหนดไว้ว่าเจ้าหญิงจะต้องสละฐานันดรศักดิ์เช่นเดียวกับพระกรณียกิจในฐานะเจ้าหญิงเมื่อเสกสมรสกับสามัญชน และแน่นอนว่าทายาทของพระองค์ก็จะไม่ได้รับอิสริยยศเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเพศใดก็ตาม
【特設:眞子さま 同級生とご婚約へ】秋篠宮ご夫妻の長女の眞子さまが婚約される見通しになりました。お相手の大学時代の同級生、小室圭さんが会見をしました。ゆかりの人や各界から祝福の声が寄せられています。https://t.co/o9yCbVXAfr pic.twitter.com/xCUgH55jpw
— NHKニュース (@nhk_news) May 17, 2017
พิธีเสกสมรสของเจ้าหญิงมาโกะนั้นใกล้เข้ามาทุกที และประเทศญี่ปุ่นกำลังจะเสียสมาชิกราชวงศ์ที่สำคัญไปอีกหนึ่งคน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบราชวงศ์กำลังเรียกร้องให้มีการปรับกฎมณเฑียรบาลให้สมาชิกผู้หญิงของราชวงศ์สามารถคงไว้ซึ่งอิสริยยศหลังการเสกสมรสและอนุญาตให้ทายาทที่ถือกำเนิดได้รับอิสริยยศเช่นกัน นอกจากนี้ พรรคเสรีประชาธิปไตยของญี่ปุ่นกำลังผลักดันให้กฎหมายรองรับให้ผู้หญิงสามารถสืบราชบังลังก์ได้ ซึ่งหากกฎหมายนี้ผ่านการเห็นชอบ ก็อาจจะมีโอกาสที่ราชวงศ์ญี่ปุ่นในอนาคตจะถูกนำโดยจักพรรดินี
รัฐสภาของญี่ปุ่นได้บันทึกไว้ในบทเพิ่มเติมลงวันที่ 9 มิถุนายน 2017 ว่าจะพิจารณาเรื่องที่จะให้ผู้หญิงจากราชวงศ์ยังคงไว้ซึ่งยศและตำแหน่งหลังการเสกสมรสกับสามัญชน นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ (Shinzo Abe) ได้กล่าวเอาไว้ในวันเดียวกันว่า การสืบราชบัลลังก์อย่างมั่นคงนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญ และส่วนตัวเขาเห็นด้วยว่าประเด็นนี้ควรได้รับการพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วน
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีการพูดถึงประเด็นดังกล่าว หลังจากการประสูติของพระราชธิดาองค์เดียวในมกุฎราชกุมารนารุฮิโตะ เจ้าหญิงไอโกะ (Princess Aiko) รัฐบาลได้พิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่จะให้รัชทายาทหญิงครองราชบัลลังก์ แต่การพูดคุยได้เงียบหายไป เมื่อเจ้าชายฮิสะฮิโตะได้ประสูติขึ้นในปี 2016 อย่างไรก็ตามหลายคนหวังว่า รัฐบาลจะสามารถผลักดันให้มีการปรับเปลี่ยนกฎมณเฑียรบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประชาชนส่วนใหญ่ดูจะสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
อันที่จริงแล้ว ในโพลโดย Kyodo News ในเดือนมิถุนายนปี 2017 ได้เผยให้เห็นว่า 86 เปอร์เซ็นต์ของประชาชนสนับสนุนให้รัชทายาทหญิงสืบทอดราชบัลลังก์ นอกจากนี้ 59 เปอร์เซ็นต์ยังสนับสนุนให้ทายาทที่เกิดจากสมาชิกผู้หญิงของราชวงศ์ได้รับสิทธิสืบทอดราชบัลลังก์ และผลการสำรวจล่าสุดหลังจากการขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระจักรพรรดิเกือบ 80 เปอร์เซ็นต์ของประชาชนญี่ปุ่นสนับสนุนการสืบทอดราชบัลลังก์ จะเห็นได้ว่าคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่มีความเห็นไปในทิศทางที่ดีต่อรัชทายาทหญิงของราชวงศ์ญี่ปุ่น
หัวหน้าภาควิชาเอเชียศึกษาของมหาวิทยาลัย Temple และผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ศาสตราจารย์ Jeff Kingston ได้อธิบายเสียงตอบรับด้านบวกนี้ว่าเป็นความปรารถนาของญี่ปุ่นที่จะปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยของศตวรรษที่ 21 และต้องการหลุดจากกรอบความคิดที่ล้าหลัง
ความเห็นจากการสัมภาษณ์คนยุคใหม่และยุคเก่าได้สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดดังกล่าว นามิ มาโรโอกะ (Nami Morooka) อายุ 21 ปี ได้กล่าวว่า “คิดว่าราชวงศ์ควรจะมีการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยมากกว่านี้ ไม่จำเป็นต้องยึดติดกับแนวคิดแบบเก่า”
เช่นเดียวกัน หญิงอายุ 80 ปีซึ่งไม่ประสงค์จะออกนามได้กล่าวว่า “ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงมีคนต่อต้านจักพรรดินีที่เป็นผู้หญิง เพราะอย่างประเทศอังกฤษก็มีพระราชินี แล้วก็ไม่เห็นจะมีปัญหาอะไรเลย แปลกมากที่มีคนคัดค้านในญี่ปุ่น”
ทุกคนล้วนจับตามองราชวงศ์ญี่ปุ่นเพราะนับว่าเป็นประเทศที่ยังคงมีระบอบกษัตริย์ที่คงอำนาจอยู่นานที่สุดในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจักพรรดิอาคิฮิโตะมีแผนจะสละราชบัลลังก์และการหมั้นของเจ้าหญิงมาโกะ ที่ทำให้ผู้คนร่วมเฉลิมฉลองกันทั่วประเทศ ซึ่งในเวลานี้สิ่งที่ประชาชนต้องการจะเห็นคือ ความมั่นคงในการสืบสายราชวงศ์ และถือเป็นเวลาที่เหมาะที่สุดที่จะเปลี่ยนกฎมณเฑียรบาล และผู้คนหวังว่านายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ผู้นำที่เป็นที่รู้จักในฐานะผู้สนับสนุนการให้อำนาจของสตรี จะสามารถทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้
ส่วนตัว ฉันคิดว่าการมีผู้สืบสายจากฝั่งผู้หญิงจะมีประโยชน์สำหรับราชวงศ์ เพราะการกีดกันผู้หญิงออกจากราชวงศ์ โดยให้เหตุผลในเรื่องของเพศหรือฐานะของคู่สมรสนั้น เป็นความคิดที่โบราณคร่ำครึ เจ้าหญิงทุกคนมีสิทธิในความเป็นสมาชิกของราชวงศ์โดยสายเลือก เป็นอัตลักษณ์ของเจ้าหญิงทุกพระองค์ และไม่ควรมีใครมาพรากไปจากพระองค์ได้ เช่นเดียวกับบัลลังก์ที่ควรมีไว้สำหรับรัชทายาท ที่ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง และฉันเชื่อว่าผู้หญิงควรจะมีสิทธิครองบัลลังก์ของญี่ปุ่นเช่นกัน